การประชุมลูกบ้านของหมู่บ้านจัดสรร นิติบุคคล มีหน้าที่อะไรบ้าง

การประชุมลูกบ้านของหมู่บ้านจัดสรร นิติบุคคล มีหน้าที่อะไรบ้าง

การประชุมลูกบ้านของหมู่บ้านจัดสรร นิติบุคคล มีหน้าที่อะไรบ้าง

สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านจัดสรร อาจจะรู้สึกสงสัยว่านิติบุคคลมีไว้เพื่ออะไร ทำไมถึงต้องมีการจัดตั้งผู้คนภายในหมู่บ้านขึ้นเป็นนิติบุคคลหรือจะต้องจ้างผู้ที่มีความรู้ ความสามารถมาทำเป็นนิติบุคคลโดยเฉพาะ คำตอบ คือ การซื้อหมู่บ้านจัดสรร ทางกฎหมายจะถือว่าคุณเป็นหนึ่งในสมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงต้องมีส่วนร่วมและจะต้องมีการจ่ายค่าส่วนกลางรายเดือนให้กับนิติบุคคล เพื่อเป็นการร่วมดูแลในส่วนของสาธารณูปโภคและทรัพย์สินส่วนกลางของหมู่บ้านทั้งหมด ดังนั้นนิติบุคคลจึงถูกก่อตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ภายในหมู่บ้านจัดสรรจึงต้องมีการประชุมลูกบ้าน ที่ถูกเรียกว่าการประชุมใหญ่สามัญและการประชุมวิสามัญประจำปี เพื่อเป็นการลงคะแนนเสียงคัดเลือกนิติบุคคลและการประชุมในเรื่องต่าง ๆ เพื่อทำให้การดำเนินงานของนิติบุคคลเป็นไปอย่างถูกต้องและตรงตามความต้องการของลูกบ้านมากที่สุด ซึ่งการประชุมนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะเป็นตัวช่วยกำหนดทิศทางหน้าที่ของนิติบุคคลอย่างชัดเจน พร้อมการหาแนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านร่วมกัน โดยในการประชุมจะมีลูกบ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านที่จะต้องเข้าประชุมอย่างครบองค์ประกอบ ส่วนตัวของนิติบุคคลจะมีหน้าที่ในการประชุม คือ

  • การรับผิดชอบตามข้อกำหนดของข้อบังคับที่มีร่วมกัน และเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องของการประชุมทั้งหมด
  • มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายแล้วนำไปปฏิบัติตามกำหนดและระเบียบต่าง ๆ พร้อมทำให้ถูกระเบียบและมาตรการที่อยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย
  • วินิจฉัยคำร้องและปัญหาความขัดแย้งภายในของลูกบ้าน โดยสามารถวินิจฉัยได้ทั้งในการไกล่เกลี่ยและการใช้ข้อกฎหมายร่วมด้วย
  • มีหน้าที่ในการอนุมัติ จัดการ หรือทำนิติกรรมต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • มีหน้าที่และอำนาจในการเรียกประชุมใหญ่ เมื่อมีเหตุจำเป็นและจะต้องขอความเห็นจากทางเจ้าของร่วม (ลูกบ้าน) โดยด่วน
  • มีหน้าที่ในการสรุปเรื่องราวต่าง ๆ ของที่ประชุมให้ออกมาชัดเจน เพื่อทำให้ทุกคำร้อง ทุกปัญหา และทุกเรื่องราวภายในโครงการหมู่บ้านถูกแก้ไขไปอย่างถูกต้อง เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
  • การสร้างโครงการต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อลูกบ้านอย่างสูงสุด

สำหรับลูกบ้านแล้วจะถือว่าเป็นเจ้าของร่วม ดังนั้นจึงมีหน้าที่ในการเข้าประชุม ลงคะแนนเสียง และออกความคิดเห็น รวมไปถึงการร้องเรียนในเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่เป็นธรรมต่อตัวเองได้ทั้งหมด ที่สำคัญคือการจ่ายค่าส่วนกลางหมู่บ้านที่ถือเป็นเรื่องควรทำ เพราะจะช่วยในการบำรุงและรักษาระบบสาธารณูปโภคกับทรัพย์สินที่ใช้ร่วมกัน ทำให้เกิดประโยชน์ต่อทุกคนภายในหมู่บ้าน ดังนั้นถ้าออกมติในการจ่ายค่าส่วนกลางมาแล้ว จะต้องจ่ายอย่างตรงเวลา ไม่เช่นนั้นทางนิติบุคคลจะสามารถดำเนินคดีทางกฎหมายต่อเจ้าของบ้านได้ด้วยเช่นกัน

ช่องทางการติดต่อ

Share :

บทความอื่นๆ