การควบคุมกฎระเบียบ ข้อบังคับ ต่าง ๆ นิติบุคคลสามารถตั้งเองได้หรือไม่

การควบคุมกฎระเบียบ ข้อบังคับ ต่าง ๆ นิติบุคคลสามารถตั้งเองได้หรือไม่

ควบคุมกฎระเบียบ ข้อบังคับ ต่าง ๆ นิติบุคคลสามารถตั้งเองได้หรือไม่

ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน เจ้าของที่ทำสัญญาซื้อบ้านหรือห้องชุดแล้วต้องทำตามสัญญาและปฏิบัติตามกฎระเบียบการพักอาศัยอยู่กับเจ้าของร่วมคนอื่น ๆ ภายใต้การดูแลควบคุมของ นิติบุคคล ซึ่งทำหน้าที่กำหนดกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ นั่นหมายความว่าบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมแต่ละแห่งมีกฎเกณฑ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่านิติบุคคลของสถานที่นั้นกำหนดไว้อย่างไร

1.หน้าที่ของนิติบุคคลคือดูแล อาคารสถานที่ และสาธารณูปโภคส่วนกลาง พร้อมทั้งมีอำนาจดำเนินการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัย การใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค การจราจรภายในโครงการ ตลอดจนการใช้บริการสาธารณูปโภคอื่น ๆ ให้คงสภาพดีพร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรดำเนินการออกระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และขอความเห็นชอบของมติที่ประชุมใหญ่และแจ้งประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทุกบ้านปฏิบัติตาม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ทุกครัวเรือนอยู่กันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดและปลอดภัย

2.นิติบุคคลมีหน้าที่กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายและค่าส่วนกลางที่เรียกเก็บจากลูกบ้านทุกหลังคาเรือน เพื่อนำไปใช้ดูแลสถานที่ จ้าง ช่าง ซ่อมบำรุงสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะภายในโครงการ รวมถึงกำหนดค่าปรับในกรณีที่ชำระเงินล่าช้า ปัญหาค้างชำระส่วนกลางเกิดขึ้นบ่อย เจ้าของบ้านที่ค้างชำระถือว่าเป็นหนี้และทำผิดกฎหมายซึ่งทางนิติบุคคลสามารถระงับสิทธิการใช้บริการสาธารณะบางอย่าง รวมถึงบทลงโทษอื่น ๆ และระงับการโอนกรรมสิทธิ์ทำให้ซื้อขายบ้านไม่ได้จนกว่าจะจ้างหนี้ทั้งหมดแล้ว

3.นิติบุคคลเป็นผู้ตั้งกฎเกณฑ์การอาศัยอยู่ร่วมกันของคนหมู่มากในคอนโดหรือบ้านจัดสรร โดยเสนอให้ ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกมีมติเห็นชอบ เมื่อลงมติแล้วหมายความว่าทุกบ้านต้องยอมรับและทำตามข้อบังคับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น 

-ห้ามส่งเสียงดังยามวิกาลรบกวนเพื่อนบ้าน

-ห้ามจอดรถบริเวณประตูรั้วบ้านหรือห้ามจอดรถริมถนน

-ห้ามแก้ไขต่อเติมห้องพักอาศัยในคอนโดที่มีผลกระทบต่อโครงสร้าง เช่น ต่อเติมระเบียง ทุบเจาะพื้น-ฝาผนัง-เพดาน หรือเปลี่ยนแปลงระบบน้ำ, ไฟฟ้า, ท่อระบาย​น้ำ เป็นต้น

-ห้ามเลี้ยงสัตว์ในคอนโด ห้ามนำสัตว์เลี้ยงมาขับถ่ายในสวนสาธารณะ

-ห้ามใช้ อาคารสถานที่ และทรัพย์สินส่วนกลางซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมจนเกิดความเสียหาย พร้อมทั้งห้ามทำสิ่งใด ๆ ที่รบกวนหรือละเมิดสิทธิของสมาชิกรายอื่น หากมีสมาชิกทำผิดกฎและก่อความเดือนร้อนรำคาญแก่สมาชิกหมู่บ้านตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป นิติบุคคลยื่นคำร้องเป็นโจทย์ฟ้องแทนลูกบ้านได้

การพักอาศัยในคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรอาจเกิดปัญหามากมายหากไม่มี นิติบุคคล เป็นฝ่ายตั้งกฎระเบียบและควบคุมให้ผู้อาศัยทำตามข้อบังคับต่าง ๆ หากเพื่อนบ้านได้รับความเดือดร้อนรำคาญสามารถเป็นหูเป็นหาแจ้งให้นิติบุคคลรับทราบเพื่อเข้ามาจัดการบังคับใช้กฎอย่างจริงจัง หากสมาชิกไม่ยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่แล้ว อาจถูกระงับสิทธิการใช้สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะของโครงการเป็นการชั่วคราว แต่ไม่มีอำนาจขับไล่ลูกบ้านออกจากห้องชุดหรือหมู่บ้านแต่อย่างใด

ช่องทางการติดต่อ

FB : Property Management Service

Website : https://pmserviceth.com/

Share :

บทความอื่นๆ