พนักงานนิติบุคคล คอนโด มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
นิติบุคคล คอนโด หรือ นิติบุคคลอาคารชุด จะมีบทบาทหน้าที่แตกต่างไปจากนิติบุคคลของหมู่บ้าน โดยจะเป็นการคัดเลือกจากเจ้าของร่วมหรือผู้ที่ซื้อห้องคอนโด และจะต้องมีการลงมติเพื่อเลือกบุคคลเข้ามาทำงานเท่านั้น มีหน้าที่จัดการเรื่องต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยโดยรวมทั้งหมดและทรัพย์สินส่วนกลาง พร้อมการมีหน้าที่สำคัญต่อไปนี้
- การดูแลความเรียบร้อยทรัพย์สินส่วนกลางและระบบภายใน
- การรักษาความสงบและช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาต่าง ๆ ภายในอาคาร
- บริหารค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงและดูแลพื้นที่ส่วนกลางของคอนโด
- ดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง ให้มีสภาพในการใช้งานที่สมบูรณ์แบบและพร้อมใช้อยู่เสมอ
- จัดซื้อและจัดหาทรัพย์สิน รวมไปถึงบริการต่าง ๆ ที่จะให้ความสะดวกกับเจ้าของร่วม โดยจะต้องอยู่ภายใต้ระเบียบของคณะกรรมการอาคารชุดเท่านั้น
- จัดจ้างช่างและบุคคลภายนอก เข้ามาทำการซ่อมแซมระบบและทรัพย์สินส่วนกลาง
- มีหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินกองทุนและค่าธรรมเนียมของส่วนกลางจากผู้เป็นเจ้าของร่วม เพื่อใช้ในด้านการดูแล บำรุงรักษา และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง รวมไปถึงทรัพย์สินส่วนกลางในด้านอื่น ๆ
- เป็นผู้จัดวาระการประชุมเจ้าของร่วมในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมเล็กหรือใหญ่ ที่จะถูกกำหนดไว้ภายใต้ข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด
- เมื่อมีมติภายในที่ประชุมระหว่างนิติบุคคล กรรมการ และเจ้าของร่วมแล้ว จะต้องดำเนินการตามมตินั้น และจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับพระราชบัญญัติอาคารชุด
- ถ้ามีกรณีเร่งด่วนใด ๆ จะมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องความปลอดภัยของอาคารโดยรวม และจะมีอำนาจในการตัดสินเรื่องต่าง ๆ เพื่อรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง, จัดการทรัพย์สินของตนเอง และดูแลทรัพย์สินเจ้าของร่วมทั้งหมด
- นิติบุคคลอาคารชุดสามารถกำหนดระเบียบภายใน ที่จะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการและจะต้องไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติอาคารชุด รวมไปถึงข้อบังคับของนิติบุคคลเอง
สำหรับเจ้าของร่วมที่มีปัญหาในเรื่องของการไม่ยอมจ่ายค่าบำรุงส่วนกลาง นิติบุคคลอาคารชุดจะสามารถให้บทลงโทษทางกฎหมายได้ ต่อเมื่อมีรายละเอียดของบทลงโทษที่ระบุภายในข้อตกลงของนิติบุคคลคอนโดไว้แล้ว ซึ่งข้อตกลงที่เกิดขึ้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากทางคณะกรรมการก่อน ดังนั้นถ้าไม่ได้มีการกำหนดรายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับบทลงโทษของผู้ที่ไม่ยอมจ่ายค่าส่วนกลางไว้ให้ชัดเจน ทางนิติบุคคลคอนโดจะไม่สามารถดำเนินการได้
แต่ถ้ามีการกำหนดบทลงโทษไว้แล้ว จะต้องทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง คือ เริ่มต้นจากการตักเตือนที่ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยโดยตรงหรือการออกหนังสือ, การเรียกเก็บค่าปรับ และสุดท้ายจึงจะสามารถดำเนินบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การระงับสาธารณูปโภคของห้องนั้น ๆ ได้ทันที แต่ถ้าเจ้าของร่วมต้องการไกล่เกลี่ย นิติบุคคลอาคารชุดต้องเข้าไปพูดคุยและต้องทำอย่างเป็นธรรม เพื่อให้ข้อเรียกร้องเจ้าของร่วมได้รับการพิจารณาและดำเนินตามขั้นตอนอย่างถูกต้องที่สุด
10 หน้าที่ ของ นิติบุคคล อาคารชุด ที่สำคัญที่สุดมีอะไรบ้าง
การอยู่อาศัยอาคารชุด จะไม่เหมือนกับการอยู่บ้านเดี่ยว หรือบ้านพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัว แต่คุณจะต้องอยู่ร่วมกันกับลูกบ้านคนอื่น ๆ ดังนั้น เพื่อความสงบสุข ความสุขกาย สบายใจ ของผู้อยู่อาศัยจึงต้องมีการจัดตั้ง นิติบุคคลอาคารชุด ขึ้นมา ให้ลูกบ้านทุกคนอยู่ภายใต้การดูแลและการคุ้มครองจากหน้าที่ ของ นิติบุคคล อาคารชุด
10 หน้าที่ของ นิติบุคคล อาคารชุด ที่สำคัญที่สุด
หน้าที่ ของ นิติบุคคล อาคารชุด มีหลายหน้าที่ แต่วันนี้เราจะพาคุณมาดู 10 หน้าที่สำคัญหลัก ๆ ของนิติบุคคลอาคารชุดที่ต้องรับผิดชอบ พร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง ดังนี้
- จัดการ บริหาร ดูแลทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุด
- ดูแลจัดการความเป็นอยู่ของลูกบ้าน ในทุก ๆ กรณี
- บริหารจัดการให้ทุกคนอยู่ร่วมกันภายใต้กฎเกณฑ์อย่างมีความสุข
- ป้องกันไม่ให้ลูกบ้านก่อความวุ่นวาย อันเป็นผลเสียต่อลูกบ้านคนอื่น ๆ ทั้ง เสียงดังรบกวน รวมถึง การทะเลาะวิวาท
- เข้าไปควบคุมดูแลการต่อเติม ตกแต่ง หรือรีโนเวท ของลูกบ้าน วิเคราะห์และอนุมัติ ก่อนที่ลูกบ้านจะดำเนินการ ป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อโครงสร้างอาคาร หรือ ส่งผลกระทบต่อลูกบ้านคนอื่น ๆ
- ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ในการอยู่อาศัย
- ควบคุมและอนุมัติ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับอาคารชุดทั้งสิ้น
- ให้คำปรึกษาและออกความคิดเห็น รวมถึง ออกคำค้าน
- ออกเอกสารสำคัญทางราชการ เช่น ใบปลอดหนี้ , ใบแจ้งหนี้ หรืออื่น ๆ
- จัดหาเจ้าหน้าที่เข้ามาอำนวยความสะดวกแก่ลูกบ้านในทุก ๆ ด้าน
หน้าที่ ของ นิติบุคคล อาคารชุด ไม่ว่าจะเป็นการกระทำใด ๆ จะต้องอยู่ภายใต้หลักกฎหมาย พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 เท่านั้น เพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย