หน้าที่ของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด มีอะไรบ้าง
การอยู่อาศัยภายในคอนโดหรืออาคารชุด จำเป็นจะต้องมีการจัดตั้ง นิติบุคคล ขึ้น เพื่อเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินส่วนกลางและพื้นที่ส่วนรวมต่าง ๆ พร้อมทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกทุกด้านให้กับผู้อยู่อาศัยหรือเจ้าของร่วม ซึ่งหนึ่งในนั้นมีคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดที่ใครหลายคนอาจจะยังรู้จักไม่ดีพอ ดังนั้นลองมาดูหน้าที่สำคัญของผู้อยู่อาศัย ดังนี้
- มีหน้าที่ในการช่วยออกกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อทำให้การอยู่อาศัยภายในคอนโดเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย และตรงตามขอบเขตของพระราชบัญญัติอาคารชุด พร้อมช่วยลงมติ เพื่อทำให้ผู้จัดการนิติบุคคลสามารถนำไปเผยแพร่กับเจ้าของร่วมและให้การปฏิบัติอย่างถูกต้อง
- มีหน้าที่ในการอนุมัติเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับอาคารชุดทั้งหมด
- มีหน้าที่ในการตัดสินปัญหาข้อขัดแย้งและการวินิจฉัยปัญหา เพื่อทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและมีความเป็นธรรมต่อเจ้าของร่วมทุกคน
- มีอำนาจในการพิจารณาและชี้ขาดการกระทำใด ๆ ต่อบุคคลที่อาศัยอยู่ภายในอาคารชุด และอาจก่อความเดือดร้อนรำคาญ รวมไปถึงการตัดสินผู้ที่ต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ให้เกิดความเหมาะสมและไม่กระทบต่อผู้อยู่อาศัยคนอื่น
- ช่วยวินิจฉัยในเรื่องของการกระทำใด ๆ ที่จะมีผลเสี่ยงต่อโครงสร้างอาคารและทรัพย์สินส่วนกลาง เพื่อไม่ทำให้กลายเป็นการละเมิดข้อบังคับของทางนิติบุคคล
- คณะกรรมการนิติบุคคลจะมาจากเจ้าของร่วมลงมติเลือกตัวแทน เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าของร่วมทุกคนภายในโครงการคอนโด
- ถ้าคณะกรรมการไม่เข้าประชุมสามัญประจำปี หรือประชุมใหญ่วิสามัญช่วงระหว่างปี จะถือว่าเสียสิทธิ์ทันที
- ออกความคิดเห็นหรือคัดค้านเรื่องการปรับขึ้นค่าส่วนกลางได้
คุณสมบัติของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดที่ถูกกำหนดไว้ในกฎหมาย คือ
- ผู้ที่จะเป็นคณะกรรมการอาคารชุดได้จะต้องเป็นหนึ่งในเจ้าของร่วมหรือมีคู่สมรสเป็นเจ้าของร่วมภายในคอนโดนั้น ๆ
- ถ้าเจ้าของร่วมเป็นเพียงผู้เยาว์ หรือไร้ความสามารถตามกฎหมายจะต้องเป็นผู้แทนเจ้าของร่วมมาเป็นผู้ปฏิบัติงานแทน
- ถ้าเป็นการจ้างบริษัทมาเป็นนิติบุคคล จะมีการตั้งตัวแทนคณะกรรมการนิติบุคคลมาให้เป็นที่เรียบร้อย
- จะต้องไม่เป็นผู้ไร้ซึ่งความสามารถหรือวิกลจริต
- ต้องไม่เคยถูกไล่ออกจากการประชุมใหญ่
- ต้องไม่เคยรับโทษทางคดีอาญา ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือโทษใด ๆ ที่ถูกระบุไว้ในข้อห้ามทางกฎหมาย
การพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการนิติบุคคลจะมี 3 รูปแบบ คือ การครบวาระ การเสียชีวิต และการลาออก ถ้าคอนโดที่คุณอยู่มีการตั้งนิติบุคคลจากเจ้าของร่วม ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารชุดทุกคนที่มีการเข้าประชุมอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถเข้าเป็นคณะกรรมการนิติบุคคลได้ โดยผ่านการลงมติจากทางเจ้าของร่วมทั้งหมด ดังนั้นถ้าคุณอาศัยอยู่ภายในอาคารชุดจึงควรเข้าประชุมใหญ่และประชุมวิสามัญทุกรอบ เพื่อการเข้าถึงบทบาทของกรรมการนิติบุคคลและผู้จัดการนิติบุคคล ที่ถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญในการดูแลเจ้าของร่วมภายในอาคารทั้งหมด
ช่องทางการติดต่อ
FB : Property Management Service
Website : https://pmserviceth.com/