อาคารชุด กับ คอนโด แตกต่างกันอย่างไร

อาคารชุด กับ คอนโด แตกต่างกันอย่างไร

อาคารชุด กับ คอนโด แตกต่างกันอย่างไร

อาคารชุดและคอนโดมิเนียม ถือเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบหนึ่ง ตามความหมายของพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522  หมายถึง อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือครองกรรมสิทธิ์ออกเป็นส่วน ๆ โดยในแต่ละส่วนประกอบไปด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนกลาง หากขาดกรรมสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะไม่ถือว่าเป็นอาคารชุดตามที่พระราชบัญญัติ เจ้าของจะมีกรรมสิทธิ์เฉพาะห้องชุดที่ตนเองซื้อและถือครองเอาไว้ โดยเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องก็จะมีหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ถือว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง เจ้าของห้องชุด อาคารสถานที่ สามารถที่จะใช้ซื้อ ขายหรือจำนองได้ โดยจะต้องทำเป็นหนังสือไปที่นิติกรรมจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่กรมที่ดินทุกครั้ง 

สำหรับกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและให้นิยามใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่และระบบต่าง ๆ ดังนี้

  • อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม จะต้องได้รับการแต่งตั้งนิติบุคคลอาคารชุด ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ปรับปรุงใหม่ในปี 2551 
  • นิติบุคคล อาคารชุด ถือเป็นทรัพย์สินส่วนกลางและต้องอยู่ภายในอาคารชุดเท่านั้น
  • สิ่งก่อสร้าง งานระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยถือเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น ระบบไฟทางเดิน, ระบบปรับอากาศ, ระบบน้ำ, ลิฟต์, การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
  • เจ้าของร่วมหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุด คอนโด จะต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายในการซ่อมและบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลาง, ค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินส่วนกลางทั้งหมด 
  • ค่า ช่าง ที่มาดูแลหรือซ่อมแซมภายในห้องชุด ไม่ถือว่าเป็นส่วนกลาง เว้นเสียแต่นิติบุคคลจะมีช่างประจำโครงการนั้นไว้ เพื่อคอยบริการ

ดังนั้นอาคารชุดกับคอนโด ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด จึงไม่มีความแตกต่างกัน สิ่งที่แตกต่างกันก็มีเพียงแค่ชื่อที่ใช้เรียกกันเท่านั้นเอง

ช่องทางการติดต่อ

FB : Property Management Service

Website : https://pmserviceth.com/

Share :

บทความอื่นๆ