ใครเป็นคนกำหนดค่าส่วนกลางสำหรับลูกบ้าน
สำหรับผู้ที่กำลังจะซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นห้องคอนโดหรือบ้านในโครงการ มีเรื่องหนึ่งที่คุณต้องรู้ คือ การค่าส่วนกลาง เชื่อว่าหลายคนต้องรู้สึกสงสัยว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ใครเป็นผู้กำหนด? เก็บเพื่ออะไร? ให้ประโยชน์กับลูกบ้านอย่างคุณแค่ไหน? ซึ่งสามารถตอบได้ชัดเจนว่ากฎหมายเป็นผู้กำหนดในเรื่องค่าส่วนกลาง ทั้งของหมู่บ้านและห้องคอนโด เพื่อนำไปสร้างประโยชน์และมีความเป็นธรรมต่อทั้งผู้ซื้อกับนิติบุคคล
ค่าส่วนกลางจะถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งจะถูกบังคับใช้ภายในโครงการจัดสรรและที่อยู่อาศัย ประเภทบ้านเดี่ยว, บ้านทาวน์เฮ้าส์, บ้านแฝด หรือบ้านคอนโด เป็นต้น โดยเป็นการจัดทำขึ้นและมีข้อกำหนดจาก พ.ร.บ.บ้านจัดสรร พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2535 ที่จะช่วยดูแลทั้งผู้ประกอบการกับผู้ซื้อ เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่ายมากที่สุด ส่วนของผู้ประกอบการโครงการหมู่บ้านจัดสรรหรืออาคารชุด จะต้องมีการยื่นข้อมูลทางกฎหมายอย่างชัดเจนว่าโครงการของตนเองเป็นโครงการขนาดเล็ก, ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ และมีส่วนกลางภายในโครงการอะไรบ้าง
ต้องมีการบอกชัดเจนในทุกรายละเอียด เพื่อนำมาสู่การคำนวณราคาของส่วนกลาง โดยอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับส่วนกลาง จะต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยเท่านั้น จะถูกกำหนดว่าภายในหมู่บ้านจัดสรรหรือแม้แต่คอนโดจะต้องมีสวนสีเขียวไม่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนของโครงการคอนโดมิเนียมจะต้องมีที่จอดรถขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 30% ก่อนที่จะมีนิติบุคคลจะต้องมีการประชุมและลงมติในเรื่องของการเลือกกรรมการนิติบุคคล เป็นการโหวตจากลูกบ้านหรือบอร์ดบริหารของหมู่บ้าน เพื่อเป็นผู้ที่จะกำหนดแนวทางการอยู่อาศัยร่วมกันอย่างสงบสุข รวมไปถึงการดูแลพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด
สำหรับการคิดอัตราค่าส่วนกลางของโครงการหมู่บ้าน จะถูกเรียกเก็บเป็นตารางวา ส่วนโครงการคอนโดจะถูกเรียกเก็บเป็นตารางเมตร สำหรับการคำนวณค่าส่วนกลางให้นำข้อมูลเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยทั้งหมด มาคิดเป็นจำนวนตารางวาต่อหลังหรือตารางเมตรต่อต่อห้อง นำมาหารกับค่าส่วนกลางที่จำเป็นต้องจ่ายทั้งหมด เช่น ค่าการดูแลพื้นที่ส่วนกลาง, ค่าจัดเก็บขยะ, ค่าพนักงานที่ทำงานภายในหมู่บ้าน, ค่าบริหารจัดการ, ค่าแสงสว่างและน้ำในพื้นที่ส่วนกลาง, ระบบรักษาความปลอดภัย, ค่าพนักงานทำความสะอาด และค่าการดูแลต่าง ๆ เพื่อทำให้โครงการหมู่บ้านหรืออาคารชุด มีความสงบเรียบร้อยและไว้วางใจได้ตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น การคำนวณค่าส่วนกลางในแต่ละเดือนออกมาแล้วได้จำนวนเงิน 300,000 บาทต่อเดือน ถ้าเป็นโครงการหมู่บ้าน มีทั้งหมดจำนวน 100 หลัง และคิดเป็นหลังละ 100 ตารางวา จะใช้สูตรการคำนวณ 100 x 100 แล้วนำมาหารกับค่าส่วนกลางทั้งหมดในจำนวน 300,000 บาท จะออกมาเป็นพื้นที่ 30 บาทต่อตารางวา นั่นเท่ากับว่าแต่ละบ้านที่มีพื้นที่ 100 ตารางวา จะต้องจ่ายค่าส่วนกลางเป็นเงินหลังละ 3,000 บาท เป็นต้น
การจ่ายค่าส่วนกลางของโครงการหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาแล้ว ถือเป็นหน้าที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของร่วมในอาคารชุด ดังนั้นคุณจึงจำเป็นที่จะต้องจ่ายทุกเดือนตามกำหนด เพื่อการนำไปสู่การดูแล ปรับปรุง และสร้างประโยชน์ให้กับผู้อยู่อาศัยได้มากที่สุด แต่ถ้าไม่มีการจ่ายอาจจะต้องเสียค่าเบี้ยปรับและถึงขั้นถูกดำเนินคดีฟ้องร้องตามกฎหมายได้เช่นกัน
ไม่จ่ายค่าส่วนกลางได้มั้ย
การจ่ายค่าส่วนกลางเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาหรือข้อบังคับของหน่วยงานที่ดูแลอาคารชุด คอนโดหรือชุมชนหมู่บ้านจัดสรรที่คุณอาศัยอยู่ ซึ่งสิทธิ์และหน้าที่ในการจ่ายค่าส่วนกลางสามารถแตกต่างกันไปได้ตามแต่ละสถานที่ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุดหรือคอนโด เป็นต้น
หากคุณอาศัยอยู่ในอาคารชุด คอนโดหรือชุมชนที่หมู่บ้านจัดสรรที่มีค่าส่วนกลางและมีสัญญาหรือข้อบังคับที่ระบุว่าคุณต้องชำระค่าส่วนกลาง แล้วคุณไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อบังคับดังกล่าว อาจมีผลต่อสิทธิ์ในการอยู่อาศัยและข้อกำหนดในทางกฎหมาย เช่น หน่วยงานที่ดูแลอาจจะดำเนินการเรียกเก็บค่าส่วนกลางทางกฎหมาย หรือพิจารณาดำเนินการให้สิทธิ์ในการใช้บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ถูกจำกัดหรือระงับชั่วคราวได้
อย่างไรก็ตาม หากคุณมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการจ่ายค่าส่วนกลาง ควรติดต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่ดูแลอาคารชุด คอนโดหรือชุมชนหมู่บ้านจัดสรรของคุณเพื่อขอข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายและข้อกำหนดในการชำระค่าส่วนกลางเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคตเป็นต้น
ช่องทางการติดต่อ
FB : Property Management Service
Website : https://pmserviceth.com/