8 สิ่งที่ควรศึกษา ก่อนซื้อคอนโดมิเนียม

8 สิ่งที่ควรศึกษา ก่อนซื้อคอนโดมิเนียม

🏢 การเลือกซื้อคอนโดนั้นมีปัจจัยมากมายให้ตัดสินใจเลือกและปัจจุบันการซื้อคอนโดต้องศึกษาหาและบริหารคอนโดข้อมูลให้ดี ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดเพื่ออยู่อาศัยเอง เราควรมี Checklist ในการตรวจเช็คเพื่อพิจารณาการเลือกซื้อดังนี้ 💡8 สิ่งที่ควรศึกษาก่อนซื้อคอนโดมิเนียม✨ 1. รายการความต้องการตอบโจทย์กับการอยู่อาศัยหรือเพื่อลงทุน 2. เลือกโครงการที่อยู่ในทำเลที่น่าสนใจ 3. มีพื้นที่และประโยชน์ใช้สอย 4. ส่วนกลางอำนวยความสะดวกครบครัน 5. ที่จอดรถของคอนโดต้องอำนวยความสะดวกได้ดี 6. ความเหมาะสมของอัตราค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงส่วนกลาง 7. ความสามารถในการผ่อนชำระของตัวเอง 8. ประสิทธิภาพของผู้ดูแลส่วนกลาง หรือนิติบุคคลอาคาร หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ 📲 โทร. 02-007-4525 info@pmserviceth.com #PMService #นิติบุคคล #บริหารคอนโด

ถ้าลูกบ้านต้องการขายคอนโด สามารถโฆษณาขายคอนโด ผ่านนิติบุคคลคอนโด ได้หรือไม่

ถ้าลูกบ้านต้องการขายคอนโด สามารถโฆษณาขายคอนโด ผ่านนิติบุคคลคอนโด ได้หรือไม่

ถ้าลูกบ้านต้องการ ขายคอนโด สามารถโฆษณาขายคอนโด ผ่านนิติบุคคลคอนโด ได้หรือไม่? ถ้าคุณซื้อคอนโดมิเนียม / ห้องชุด ในยุค 2022 ไม่ใช่แค่เพียงการอยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่คุณยังสามารถทำเป็นธุรกิจซื้อเพื่อเกร็งกำไรในอนาคต เพราะราคาของคอนโดมิเนียมน้อยมากที่ราคาจะตก แถมยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ เมื่อความเจริญเข้ามาอาจจะเพิ่มมูลค่าได้เป็น 10 เท่า !  เมื่อคุณได้เริ่มต้นเป็น “เจ้าของร่วมโครงการ” นับตั้งแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าคุณคิดอยากจะขายแล้วขายได้เลย ความคิดนี้ “ผิด” เพราะคุณจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎการอยู่อาศัยของโครงการ นิติบุคคลจะต้องเข้ามาตรวจสอบดูแลเพื่อจัดการการซื้อ – ขาย ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ก่อนตัดสินใจกระทำการใดจะต้องยื่นเรื่องเพื่อรอการตรวจสอบจึงจะสามารถดำเนินการได้  ถ้าลูกบ้านต้องการขายคอนโด สามารถโฆษณาขายคอนโด ผ่านนิติบุคคลคอนโด ได้หรือไม่ เมื่อคุณได้ดีลและยื่นเอกสารให้กับทางนิติบุคคลแล้ว คุณต้องรอให้ทางนิติบุคคลดำเนินการออกเอกสารที่เรียกว่า “ใบปลอดหนี้” เพื่อให้คุณนำไปยืนยันกับทางผู้ซื้อว่าผู้ขายไม่มีการติดค้างชำระใด ๆ ถ้าหากว่าคุณยังชำระค่ายใช้จ่ายไม่หมด ทางนิติบุคคลก็จะไม่ออกใบปลอดหนี้ให้กับคุณแปลว่าไม่สามารถขายได้ นอกเหนือจากคุณจะดำเนินการชำระจนหมด อีก 1 คำถามยอดฮิตในการขายคอนโด คือ ถ้าลูกบ้านต้องการขายคอนโด สามารถโฆษณาขายคอนโด ผ่านนิติบุคคลคอนโด ได้หรือไม่ ? คำตอบคือ “ได้” แต่เรื่องของค่าใช้จ่ายจะต้องเป็นไปตามตกลง ไม่ว่าลูกค้าจะเป็นใครคุณจะต้องดีลกับทางนิติบุคคลเพื่อแบ่ง…

ลูกบ้านสามารถ ประกอบการค้าในอาคารชุด ได้หรือไม่

ลูกบ้านสามารถ ประกอบการค้าในอาคารชุด ได้หรือไม่

การอยู่อาศัยคอนโดมิเนียมหรืออาคารชุด ลูกบ้านทุก ๆ บ้านจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการอยู่อาศัยโดยอ้างอิงจากหลักกฎหมาย พรบ. อาคารชุด ถ้าหากว่ามีการฝ่าฝืน หรือ ไม่ปฏิบัติตาม ทางนิติบุคคลคอนโดสามารถร้องเรียน / ฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย  ลูกบ้านสามารถ ประกอบการค้าในอาคารชุด ได้หรือไม่ ?  คำถามว่า “ลูกบ้านสามารถ ประกอบการค้าในอาคารชุด ได้หรือไม่ ?” เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัยกันมากที่สุด ! แท้จริงแล้วการประกอบการค้า คำตอบจะไม่เหมือนกัน 100 % เพราะแต่โครงการก็มีกฎการอยู่อาศัยที่ต่างกันออกไป แต่มากกว่า 90 % ลูกบ้าน “ไม่” สามารถประกอบการค้าในอาคารชุดได้ เพราะการกระทำบางอย่างอาจจะส่งผลเสียต่อลูกบ้านคนอื่น ๆ หนักกว่านั้นยังสามารถลงผลเสียต่อโครงสร้างอาคารได้ด้วย ตามกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการจะต้องมีการกำหนดขอบเขตในการอยู่อาศัย  คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 ข้อที่ 10 ได้บัญญัติไว้ว่า “ห้ามกำหนดให้ลูกบ้านต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินที่เช่า หากความเสียหายนั้นเกิดขึ้นจากการใช้งานตามปกติ หรือรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นอันมิใช่ความผิดของลูกบ้าน หรือเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือรับผิดในความชำรุดบกพร่องทรัพย์สินที่เกิดจากการใช้งานหรือเกิดการเสื่อมสภาพจาการใช้งานตามปกติ”  หากมีการกระทำดังกล่าวที่ส่งผลเสียต่อโครงการและลูกบ้านคนอื่น ๆ ฝ่าฝืน ลักลอบ หรือทำผิดกฎตามกฎหมาย ทางนิติบุคคลสามารถดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย…

เจ้าหน้าที่นิติบุคคล มีหน้าที่อะไรบ้าง และต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

เจ้าหน้าที่นิติบุคคล มีหน้าที่อะไรบ้าง และต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

เจ้าหน้าที่นิติบุคคล มีหน้าที่อะไรบ้าง และต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ถ้าคุณตัดสินใจที่จะซื้อหรือเช่า คอนโดเพื่อการอยู่อาศัย นอกเหนือจาก งบประมาณ , ความสวยงาม , ราคาและทำเล ที่สมเหตุสมผล , ขนาดของห้อง อีก 1 สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ “เจ้าหน้าที่นิติบุคคล” เพราะนิติบุคคลจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพชีวิต จากการบริการจัดหารดูแลทุกบ้าน เจ้าหน้าที่นิติบุคคล มีหน้าที่อะไรบ้าง ? รับฟังคำร้องของลูกบ้าน  ออกกฎเกณฑ์ในการอยู่อาศัย เพื่อให้ทุกคนมีความเท่าเทียมไม่เอาเปรียบกันและกัน  ดูแลบริหารเงินส่วนกลางเพื่อเอามาบำรุงโครงการ ว่าจ้างพนักงานเข้ามาทำหน้าที่ เช่น คนสวน , แม่บ้าน , พนักงานรักษาความปลอดภัย และอื่น ๆ ลองคิดดูว่าถ้าคุณไปอาศัยอยู่คอนโดที่ไม่มีพนักงานรักษาความปลอดภัย คุณจะอยู่อย่างอุ่นใจหรือไม่ ?  อำนวยความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย  ดูแลจัดการทรัพย์สินส่วนรวม / ส่วนตัว  เจ้าหน้าที่นิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ?  เจ้าหน้าที่นิติบุคคล อ้างอิงจากพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551ต้องมีคุณสมบัติตามบัญญัติ ดังนี้   เป็นเจ้าของร่วมหรือคู่สมรสเจ้าของร่วม ในกรณีที่เจ้าของห้องเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ…

นิติบุคคลของคอนโด มีไว้ทำไม ช่วยอะไรลูกบ้านได้บ้าง

นิติบุคคลของคอนโด มีไว้ทำไม ช่วยอะไรลูกบ้านได้บ้าง

นิติบุคคลของคอนโด มีไว้ทำไม ช่วยอะไรลูกบ้านได้บ้าง รายละเอียดเกี่ยวกับ “นิติบุคคลคอนโด” ที่ชาวคอนโดต้องรู้! ถ้าคุณตัดสินใจที่จะอาศัยคอนโดมิเนียมและห้องชุด นอกจากที่อาศัยแล้วคุณจะต้องอยู่อาศัยภายใต้กฎเกณฑ์และการดูแลของนิติบุคคลคอนโดประจำโครงการ  นิติบุคคลของคอนโด มีไว้ทำไม?  ลองคิดดูว่าคนร้อยพ่อพันแม่ เมื่อต้องมาอยู่อาศัยภายใต้ร่มเงาหลังคาอาคารเดียวกัน แน่นอนว่าความคิดของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้อาจจะส่งผลต่อปัญหาในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น การเอารัดเอาเปรียบ , การทะเลาะวิวาท รวมถึง การก่อความวุ่นวายหรือสร้างความรำคาญให้กับบุคลลอื่น ด้วยเหตุนี้จึงต้องมี “นิติบุลคลคอนโด” เข้ามาช่วยดูแลและควบคุม  สร้างกฎเกณฑ์ในการอยู่อาศัยเพื่อให้ลูกบ้านปฏิบัติร่วมกัน นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่สำคัญต่อภาพลักษณ์ของโครงการ ถ้าหากว่าไม่มีนิติเข้ามาบริหารจัดการดูแล ทั้งทรัพย์สินส่วนกลาง , พื้นที่ส่วนกลาง , การว่าจ้างพนักงาน , การเงินการออกใบแจ้งหนี้ ใบปลอดนี้ ภาพลักษณ์ของโครงการเมื่อผู้อื่นมองเข้ามาอาจจะดูไม่น่าอยู่สักเท่าไหร่ แถมยังเป็นข้อบังคับทางกฎหมายที่ทุกคนจะต้องพึงปฏิบัติตาม  นิติบุคคลของคอนโด ช่วยอะไรลูกบ้านได้บ้าง ?  นิติบุคคลของคนโด สามารถช่วยลูกบ้านแก้ปัญหาสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ปัญหาเล็ก ๆ ไปจนถึงปัญหาใหญ่ ๆ ทั้งเรื่องของชำรุด ใช้งานไม่ได้ ( ระบบน้ำ-ไฟ สาธารณูปโภค ) , คอยรับฟังการร้องเรียนของลูกบ้านเมื่อมีปัญหาในการอยู่อาศัย ,…

เงินทุน ของนิติบุคคล คอนโด มาจากไหน และมีมาอย่างไรบ้าง

เงินทุน ของนิติบุคคล คอนโด มาจากไหน และมีมาอย่างไรบ้าง

เงินทุน ของนิติบุคคล คอนโด มาจากไหน และมีมาอย่างไรบ้าง การอยู่อาศัยคอนโดมิเนียมหรือห้องชุด กำลังเป็นที่นิยมมากในตอนนี้ ซึ่งคอนโดมิเนียมจะมาพร้อมกับ “นิติบุคคลคอนโด” ถ้าหากว่าใครชอบการอยู่อาศัยคอนโดก็คงจะต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เหตุผลที่ต้องมีก็มาจากหลากหลายประการ ทั้งทางกฎหมายและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ เมื่อคุณจะต้องเป็นเจ้าของร่วมกับโครงการ  เงินทุน ของนิติบุคคล คอนโด มาจากไหน และมีมาอย่างไรบ้าง เงินทุนนิติบุคคลหรือเรียกอีกอย่างว่า “เงินกองทุน” ก็จะมาจากลูกบ้าน หรือ เจ้าของร่วมตาม พรบ.อาคารชุด มาตรา40 ซึ่งระบุเป็นหลักการคร่าว ๆ ว่า “ให้เจ้าของร่วมชำระเงินให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด” เพราะฉะนั้นเมื่อคุณตัดสินใจอยากจะเป็นเจ้าของร่วมจะต้องทำการจ่ายเงินที่เรียกว่า “ค่าส่วนกลาง” เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อคุณโอนกรรมสิทธิ์ในการอยู่อาศัย ถึงแม้ว่าจะคุณจะซื้อเก็บไว้เก็งกำไรไม่ได้อยู่อาศัยก็จะต้องจ่ายค่าส่วนกลาง เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เงินที่คุณจ่ายนิติบุคคลจะเอาเงินนั้นมาบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ เพื่อการอยู่อาศัย เช่น การซ่อมบำรุง , การดูแลทรัพย์สินส่วนกลางหรือส่วนตัว , การว่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ แม่บ้าน ตลอดจน ทีมช่าง , บำรุงพื้นที่ส่วนกลาง เช่น สระน้ำ , ฟิตเนส หรืออื่น ๆ…

5 หน้าที่หลักของนิติบุคคล ช่วง โควิด-19 มีอะไรบ้าง

5 หน้าที่หลักของนิติบุคคล ช่วง โควิด-19 มีอะไรบ้าง

ทุกท่านคงจะเห็นกันว่าที่ผ่านมา คนทุกคนจะต้องประสบปัญหาการแพ้ระบาดของโควิด – 19 เป็นอะไรที่ใหม่มากในประเทศไทย เป็นสิ่งที่คนไทนทุกคนจะต้องช่วยกันรับมือ งดออกจากบ้าน แต่ถ้าหากว่าอยู่อาศัยคอนโด? นิติบุคคลจะต้องบริหารยังไง? วันนี้มาหาคำตอบกัน  5 หน้าที่หลักของนิติบุคคล ช่วง โควิด – 19 มีอะไรบ้าง 1.เตรียมความพร้อมด้านการรับมือ  ประการแรกนิติจะต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเชื้อไวรัส เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดแต่เนิ่น ๆ ตั้งจุดคัดกรองเข้า – ออก เพื่อตรวจวัดอุณหภูมิ ด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพ ตรวจทุกคนไม่ว่าจะลูกบ้านหรือพนักงาน ถ้าหากว่ามีคนเดินทางเข้าออกต่างประเทศหรือต่างจังหวัด จะต้องได้รับการกักตัวครบ 14 วัน ถึงจะเข้ามายังบริเวณได้  2.เตรียมความพร้อมด้านพนักงาน  ให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับมาตรการณ์การป้องกันของคอนโด ให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ถ้าหากพนักงานมีอาการไอ ไม่สบาย หรือแม้แต่ติดเชื้อ จะต้องกักตัวจนกว่าจะหาย 3.เตรียมความพร้อมทำความสะอาด  จัดการทำความสะอาดทุกชั่วโมง ดำเนินการฆ่าเชื้อทุกบริเวณที่ลูกบ้านอยู่อาศัย เช่น หน้าประตู , ทางเดิน , ลิฟท์ และอื่น ๆ  4.งดพื้นที่บางชนิด จำกัดบริเวณส่วนกลางที่ลูกบ้านจะใช้เวลานอกห้องเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด  5.งดจัดการประชุม…

อำนาจและหน้าที่ของ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด มีอะไรบ้าง

อำนาจและหน้าที่ของ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด มีอะไรบ้าง

อำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด มีอะไรบ้าง ปัจจุบันนี้คุณคงได้เห็นกันว่าคอนโดมิเนียมหรืออาคารชุด มีจำนวนอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะน้อยลงไป แต่อย่างที่ทราบกันดีกว่านิสัยของการอยู่อาศัยคอนโดมิเนียม จะไม่เหมือนกับการอยู่บ้านของตนเอง เนื่องจากมีผู้อยู่อาศัยร่วมกันเป็นจำนวนมาก และสิ่งที่จะตามมาคือ ปัญหา และ ความวุ่นวาย อำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด มีอะไรบ้าง ตามหลักกฎหมายถูกต้อง จึงได้มีการจัดตั้ง “ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด” ขึ้นมา เพื่อให้ควบคุมดูแลการอยู่อาศัยของคนหมู่มากให้ไม่มีปัญหาและอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด ( ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 ได้มีการออกกฎสำหรับโครงการต่าง ๆ กล่าวถึงอำนาจ / หน้าที่ ของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ดังนี้  1.การจัดการการประชุมใหญ่  ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดต้องดำเนินการจัดการประชุมใหญ่ ระยะเวลาตามกฎหมายจัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน เพื่อรับรองข้อบังคับและผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่โครงการเป็นผู้กำหนด จากนั้นต้องประชุมเลือกแต่งตั้งกรรมการนิติบุคคลตามลำดับ  2.จัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ผู้จัดการนิติบุคคลจะต้องดำเนินการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ประจำเดือนภายใน 15 วัน  นับแต่วันสิ้นเดือน ถ้าหากว่ามีการล้าช่า ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดจะมีโทษดำเนินคดีตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ปรับรายวันวันละ…

หน้าที่ของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด มีอะไรบ้าง

หน้าที่ของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด มีอะไรบ้าง

หน้าที่ของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด มีอะไรบ้าง นอกเหนือจากนิติบุคคลอาคารชุด ตามกฎหมายพรบ. อาคารชุด ฉบับล่าสุด เพิ่มเติมจะต้องมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด” เพื่อการตรวจสอบ / การอนุมัติ ที่มีประสิทธิภาพมีขั้นมีตอนมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อลูกบ้านต้องการจะร้องเรียนปัญหา หรือกรณีอื่น ๆ สามารถติดต่อกับ นิติบุคคลอาคารชุด ที่ดูแลได้โดยตรง โดยนิติจะเอายื่นให้กับกรรมการพิจารณาอีกที  หน้าที่ของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด มีอะไรบ้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นกระบวนการหน้าที่เบื้องหลัง แต่ถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญสูงสุด มีสิทธิ / อำนาจ และ หน้าที่ ดังนี้ ดูแลการทำงาน การบริหารจัดการของกลุ่มนิติบุคคลอาคารชุด ตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานให้อยู่ภายใต้ข้อบังคับตามกฎหมาย ตลอดจนมติในที่ประชุมตามตกลง มีหน้าที่ในการออกนโยบายการจัดการ ตั้งกฎในการอยู่อาศัยอยู่ในขอบเขตของกฎหมายและข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด มีอำนาจในการตัดสิน วิจัย พิจารณาปัญหาคำร้องต่าง ๆ  จัดการสภาพการเงินภายในโครงการ อนุมัติการขอเบิกงบประมาณเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ  ดูแลการทำนิติกรรมทั้งในนามนิติบุคคลอาคารชุด และ บุคคลภายนอก  มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ตามที่ข้อบังคับได้กำหนด  พิจารณาการผ่อนผันของลูกบ้าน เพื่อส่งให้นิติบุคคลอาคารชุดไปออกเอกสารต่อถ้าอนุมัติผ่าน แจ้งหนี้ทั้งค่าผ่อน และ ค่าบำรุงส่วนกลาง ที่จำเป็นต้องจ่ายทุกคน  ตามกฎหมายอาคารชุด คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาชี้ขาดว่า “การกระทำใดอย่างใดต่อทรัพย์สินส่วนบุคคล…

ข้อแตกต่าง ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัท จำกัด มีอะไรบ้าง

ข้อแตกต่าง ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัท จำกัด มีอะไรบ้าง

ข้อแตกต่าง ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัท จำกัด มีอะไรบ้าง อยากให้คุณทำความเข้าใจว่าคำว่า “นิติบุคคล” ที่ได้ยินหรือได้เห็นกันเป็นประจำนั้นที่แท้จริงมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น นิติบุคคลบ้านจัดสรร , นิติบุคคลกระทรวง แต่ที่จะได้ยินบ่อย ๆ คือ นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัท จำกัด การทำงานของแต่ละประเภทจะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย  ข้อแตกต่าง ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัท จำกัด มีอะไรบ้าง วันนี้เราจะเอาข้อแตกต่างของนิติบุคคลอาคารชุด และ นิติบุคคล บริษัท จำกัด มาเปรียบเทียบให้ดูกันชัด ๆ ดังนี้  1.การก่อตั้ง นิติบุคคลอาคารชุด : ต้องเดินทางไปจัดการที่กรมที่ดิน / กระทรวงมหาดไทย      นิติบุคคล บริษัท จำกัด : ต้องเดินทางไปจัดการที่กรมทะเบียนการค้า / กระทรวงพาณิชย์ 2.วัตถุประสงค์ นิติบุคคลอาคารชุด…

5 เหตุผลสำคัญ ในการคัดเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

5 เหตุผลสำคัญ ในการคัดเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

กล้ารับประกันเลยว่าโครงการที่พักอาศัย หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่จะต้องมี “นิติบุคคล” กว่า 70 % การดำเนินการในระยะยาว จะปังหรือจะพังขึ้นอยู่กับ “การบริหารนิติบุคคล” เพราะฉะนั้นแล้ว การคัดเลือกเพื่อเข้ามาทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ เพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโครงการ และยังเพิ่มความน่าเชื่อถือช่วยเพิ่มมูลค่าของโครงการ 5 เหตุผลสำคัญ ในการคัดเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคล สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ ไม่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “นิติบุคคล” วันนี้เราก็จะจับมือคุณมาดูกันว่า 5 เหตุผลสำคัญ ในการคัดเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคล จะต้องทำอย่างไร ? ดังนี้  1.ความปลอดภัย เหตุผลแรกคือ “ความปลอดภัย” บริษัทบริหารนิติบุคคลควรจะครอบคลุมความปลอดภัยในทุก ๆ ด้าน ไม่ใช่แค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าหากว่านิติบุคคลไม่มีความสามารถไม่มีศักยภาพในการดูจัดการเรื่องความปลอดภัย จะส่งผลเสียตามมาในภายหลัง นอกจากความปลอดภัยของลูกบ้านแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินส่วนรวม / ทรัพย์สินส่วนตัว และ ระบบต่าง ๆ ในการใช้ชีวิต ถ้าไม่ส่อให้เห็นการรักษาความปลอดภัยที่มากพอ คุณก็คงไม่ได้รับความมั่นใจจากลูกบ้านแน่นอน  2.การแก้ปัญหา  แน่นอนว่าการอยู่อาศัยนั้นจะต้องมี “ปัญหา” เข้ามาอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าปัญหานั้นเล็กหรือใหญ่มากแค่ไหน บริษัทบริหารนิติบุคคลจะต้องมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแบบทันท่วงที เพื่อไม่ให้การอยู่อาศัยวุ่นวายหรือเอิกเกริก…

การเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคล ที่ดี ต้องเลือกอย่างไรบ้าง

การเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคล ที่ดี ต้องเลือกอย่างไรบ้าง

การเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคล ที่ดี ต้องเลือกอย่างไรบ้าง “นิติบุคคล” เป็นสิ่งที่สำคัญ แถมกฎหมายสถานที่ประกอบการทั้ง คอนโด , หมู่บ้านจัดสรร , กระทรวง หรือ แม้แต่ กรมต่าง ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องมีนิติบุคคล นิติบุคคลมีหน้าที่ในการดูแลจัดการเกือบจะ 100 % ของสถานประกอบการ / ที่อยู่อาศัย มีอำนาจสิทธิและหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม บริหารจัดการ ทรัพยากร คน และ เงิน  ด้วยเหตุผลนี้จึงจำเป็นที่สถานประกอบการทุกประเภทจะต้องว่าจ้าง “บริหารนิติบุคคล” เราจะมาดูกันว่า การเลือกบริษัทบริหารนิติบุคคล ที่ดี ต้องเลือกอย่างไรบ้าง ดังนี้  บุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้องานอย่างแท้จริง เข้าใจในกฎระเบียบข้อปฎิบัติทั้งสิ่งที่ควรกระทำ และสิ่งที่ไม่ควรกระทำ และต้องดำเนินการตามกฎระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมาย มีความชำนาญในการดูแลรักษาความปลอดภัย ไม่ใช่แค่ชีวิตความเป็นอยู่เท่านั้น แต่ในข้อนี้รวมถึงทรัพย์สินด้วยทั้งสิ้น  สามารถดำเนินการรักษามาตรฐานในการอยู่อาศัย / การใช้ชีวิต ดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกสุขอนามัย  สะอาดตา จัดการกำกับดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้พลังงาน แนวคิดกว้างไกล สามารถจัดการบริหารพื้นที่ส่วนกลางให้เกิดประโยชน์ในการใช้สอยมากที่สุด  รู้จักการตั้งงบประมาณ กำหนดจำนวนเงินเป็นตัวเลข…